12 พฤศจิกายน วันจป.- เซฟตี้อินไทย
อบรมหลักสูตรฟรี 2567          คลิกที่นี่

บทความ

12 พฤศจิกายน วันจป.



12 พฤศจิกายน
วันจป. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน



          ย้อนกลับไปเมื่อ 38 ปีที่แล้ว ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ลงวันที่ 6 พฤษภาคม 2528 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2528 โดยข้อกฎหมายดังกล่าวได้กำหนดให้สถานประกอบกิจการ จัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน  โดยรับผิดชอบงานความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง  รวมถึงการพัฒนางานความปลอดภัยในการทำงาน  จนต่อมาได้เกิดองค์กรภาคีเครือข่ายและชมรมของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานต่างๆ ทั่วประเทศ  ซึ่งมีกระบวนการทำงานเป็นการทำงานแบบรวมพลังประชารัฐ ในการเสริมสร้างความเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมและพัฒนางานด้านความปลอดภัยในการทำงาน  และได้กำหนดให้วันที่ 12 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน

วันจป. คือวันที่เท่าไหร่ ?
12 พฤศจิกายนของทุกปี คือวันเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน

ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง
          อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๒ (๗) และข้อ ๑๔ แห่งประกาศของคณะปฎิวัติ ฉบับที่ ๑๐๓ ลงวันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ กระทรวงมหาดไทยจึงกำหนดสวัสดิการ รเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยและความ
ปลอดภัยสำหรับลกจ้างไว้ดังต่อไปนั้
          ข้อ ๑ ประกาศนี้เริยกว่า " ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง"
          ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจงานุเบกษาเป็นต้นไป
          ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับแก่นายจ้างที่ประกอบกิจการดังต่อไปนั้
(๑) การทำเหมืองแร่ เหมืองหิน หรือกิจการบี่โตรเลียม
(๒) การทำ ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุงเก็บรักษา ปรับปรุง ตกแต่ง เสริมแต่ง ตัดแปลงเพื่อการค้า แปรสภาพ ทำให้เสียหาย หรือทำลายซึ่งวัตถหรือทรัพย์สินและรวมถึ การต่อเรือ การให้กำเนิด แปลงและจ่ายไฟฟ้า หรือพลังงานอย่างอื่น
(๓) การก่อสร้าง ต่อเติม ติดตั้ง ซ่อม ซ่อมบำรุง ด้ดแปลงหรือรื้อถอน อาคาร สนามบิน ทางรถไฟ ทางรถราง ท่าเรืออู่เรือ สะพานเทียบเรือ ทางน้ำ ถนน เขื่อน อุโมงค์ สะพาน ท่อระบาย ห่อน้ำ โทรเลข โทรศัพท์ ไฟฟ้า ก็าซหรือประปา หรืองานก่อสร้างอื่นๆ รวมทั้ง การเตรียมหรือวางรากฐานของงานก่อสร้าง หรือโครงสร้างนั้น ๆ
(๔) การขนส่งคนโดยสารหรือสินค้าโดยทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ และรวมถึงการบรรทุกขนถ่ายสินค้าด้วย
          ข้อ  ๔ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับแก่
( ๑) ราชการส่วนกลาง
(๒) ราชการส่วนภูมิภาค
(๓) ราชการส่วนท้องถิ่น
(๔ ) กิจการอื่นตามที่ ที่กระทรวงมหาดไทยจะได้กำหนด
          ข้อ ๕ ในประกาศนี้
          " นายจ้าง" หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ และหมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทน นายจ้างในกรณีที่นายจ้า เป็นนิติบุคคล หมายความว่าผู้มิอำนาจกระทำ
การแทนนิติบุคคลนั้น และหมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล
          "ลูกจ้าง " หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้แก่นายจ้าง เพื่อรับค่าจ้างไม่ว่าจะเป็นผู้รับค่าจ้างด้วยตนเองหรือไม่ก็ ตาม และหมายความ รวมถึงลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราว แต่ไม่รวมถึงลุกจ้างซึ่งทำงาน
เกี่ยวกับงานบ้าน"ความปลอดภัยในการทำงาน' หมายความว่า สภาพการทำงานซึ่งปลอดจากเหตุอันจะทำให้เกิดอุบัติเหตุ การประสมอันตราย โรค การเจ็บป่วย หรือความเดือดร้อนรำคาญเนื่องจากการทำงานหรือเกี่ยวกับการทำงาน
          "เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน" หมายความว่า ลูกจ้าง
ผู้ซึ่งนายจ้างแต่งตั้งให้ปฏิบัตีหน้าที่ตามประกาศนี้
          "สถานประกอบกิจการ" หมายความว่า หน่วยงานแต่ละแห่ง
ของนายจ้างที่ดำเนินกิจการตามลำพังเป็นหน่วย ๆ และมีลูกจ้างทำงานอยู่
          "อธิบดี" หมายความว่า อธิบดีกรมแรงงาน
          ข้อ ๖ ให้นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่หนึ่งร้อยคนขึ้นไปในสถานประกอบกิจการแต่ละแห่งจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานอย่างน้อยแห่งละหนึ่งคน เพื่อปฏิบัตหน้าที่ตลอดเวลาที่มีการทำงาน
ดังต่อไปนั้
(๑) ดูแลให้มีการปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง
(๒) ให้คำปรึกษา แนะนำ เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานแก่นายจ้างและลูกจ้าง
(๓) ควบคุมและดูแลการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยให้ถูกวิธีและให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้
(๔) ตรวจตราสภาพการทำงานและการปฏิบัตึงานของลูกจ้างแล้วรายงานนายจ้างให้ปรับปรุงแก้ไข เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน
(๔) บันทึก จัดทำรายงาน และสอบสวมเกี่ยวกับอุบัตเหตุและโรค ซึ่งเกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องกับการทำงาน
(๖ ) ส่งเสริมสนับสนุนให้มีกิจกรรมเกี่ยวกับความปลอดภัย
ในการทำงาน
          ข้อ ๗ เจ้าหน้าที่ความปลอตภัยในการทำงานต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(๑) สำเร็จการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไปหรือเทียบเท่าสาขาอาชีวอนามัย หรือสาขาอื่นที่มีหลักสูตรเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน หรือ
(๒)ผ่านการศึกษาอบรมและทดสอบเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานจากกรมแรงงาน หรือสถาบันที่กรมแรงงานรับรอง หรือ
(๓) ปฏิบัติงานในหน้าที่เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งบีก่อนวันที่ประกาศนใช้บังคับ
          ข้อ ๘  ให้นายจ้างแจ้งชื่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้แต่งตั้ง d การแจ้งตามวรรคหนึ่ง ให้นายจ้างแสดงปริญญาบัตร หลักฐาน
การศึกษาอบรมและทดสอบหรือหลักฐานการปฏิบัติงานของผู้นั้นด้วย
          ข้อ ๙ เมื่อเจ้าหน้าที่ความปลอดกัย ในการทำงานพ้นจากหน้าที่ให้นายจ้างจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานคนใหม่แทนและแจ้งชื่อต่ออธิบดี หรือผู้ซึ่งอธิบดื่มอบหมายภายในหกสิบวันนับแต่วันที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานคนเดิมพ้นหน้าที่
          ข้อ ๑๐ ให้นายจ้างส่งรายงานการดำเนินการเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานตามแบบที่กรมแรงงานกำหนดต่ออธิบดีหรือผ้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเข็นประจำทุก หกเตือนทำงานภายในเวลาไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ครบกำหนด

แจกฟรีตัวการ์ตูนเซฟตี้สุดน่ารักเนื่องในวันจป.
เนื่องในวันเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานเซฟตี้อินไทยได้จัดทำแจกไฟล์ POWERPOINT
ตัวการ์ตูนสุดน่ารักให้กับพี่ๆจป.
นำไปจัดทำสื่อการสอนด้านความปลอดภัยหรือสื่อต่างๆ ในการทำงานพร้อม
ไอคอนเชิงสัญลักษณ์ด้านความปลอดภัย
ซึ่งตัวการ์ตูนเซฟตี้สุดน่ารักทางเราได้จัดทำมา 14 แบบ เป็นไฟล์ PNG พร้อมใช้งาน




เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน จป คอมพิวเตอร์ อบรมจปออนไลน์
อบรมจป.-คปอ.ออนไลน์ สมาชิกจ่ายเพียง 1000.- จองอบรมตอนนี้

Comments


businessman

โปรโมชัน
อบรมจป.กับเซฟตี้อินไทย

อบรมจป.กับเซฟตี้อินไทย ในราคาสุดคุ้ม! โปรโมชั่นลดสูงสุด 30% เฉพาะเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2567

บทความล่าสุด
อัปเดตวิธีการวัดระดับเสียงการรบกวน2567 จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม

อัปเดต! วิธีการวัดระดับเสียงการรบกวน2567 จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม

ประกาศจากกรมสวัสดิการล่าสุด

ประกาศจาก กสร. เรื่องการเทียบเท่าวุฒิไม่ต่ำกว่า ป.ตรี อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ประกาศกสร.หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหารหัวหน้างานและลูกจ้าง ฉ.2

ประกาศกสร.หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหารหัวหน้างานและลูกจ้าง ฉ.2

บทความยอดนิยม
อุบัติเหตุและอันตรายจากการทำงาน,อันตรายจากการทํางาน มีอะไรบ้าง,สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุภายในที่ทำงาน,สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุบัติเหตุภายในที่ทำงาน,

สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุภายในที่ทำงาน

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัย พ.ศ. 2565

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัย พ.ศ. 2565

กฎกระทรวงเกี่ยวกับรถยก รถโฟล์คลิฟท์ forklift 2564

นายจ้างต้องรู้! กฎกระทรวงเกี่ยวกับรถยก 2564

แบ่งปัน
ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai